วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การเตรียมตัวในการรับลูกเสริฟท์

สวัสดีครับวันนี้ผมจะมาแนะนำการรับลูก"เสริฟท์ และการยืนในท่าพร้อมรับครับ"

อย่างแรกมาพูดถึงเรื่องการวางเท้าในท่ายืนตั้งรับ และท่าการยกไม้ที่ถูกต้อง มาเตรียมพร้อมกันก่อนสักเล็กน้อนครับ การยืนที่ถูกต้องจะช่วยให้เราขยับตัวได้เร็วโดยที่ขาไม่พันกันอีกด้วย ส่วนการตั้งท่าที่ถูกก็จะสามารถรับลูกโต้ตอบกลับได้เร็วและมีพลังมากด้วยครับ

เนื่องจากการจับไม้ลักษณะเป็นรูป V เชฟที่ผมเคยแนะนำไว้ก่อนหน้านี้นั้นท่าการยื่นของเราไม่ถูกวิธีแล้วหน้าไม้จะเอียงทำให้เราตีหรือรับลูกลำบากครับ เริ่มด้วยการวางเท้าซ้ายไว้ด้านหน้าครึ่งก้าวและวางขวาถอยหลังไปครึ่งก้าวตัวเราจะเอียงหันไปทางขวา(นี่เป็นท่าสำหรับตั้งรับ)มือขวาที่ถือไม้ก็ยกขึ้นมาให้บริเวณหัวไม้อยู่ในระดับสายตาทางด้านขวามือยกข้อศอกให้อยู่ระดับหัวไหล่ไม้ยื่นออกไปด้านหน้า(อย่าให้หัวไม้มาบังตานะครับเพราะเดี๋ยวจะมองไม่เห็นว่าลูกพุ่งมาทางไหน เพราะลูกเสริฟท์อาจเป็นลูกเลียดผ่านเน็ทมา หรือลอยโด่งข้ามหัวเราไปด้านหลังก็ได้ครับ)ถ่ายน้ำหนักตัวไปที่เท้าซ้ายเอนตัวไปด้านหน้าเล็กน้อนพร้อมกับเปิดส้นเท้าหลัง ฉนั้นจุดที่เรายืนในคอร์ทก็ต้องให้แน่ใจว่าเราสามารถเอื้อมไปรับลูกด้านหน้าเน็ทได้ และยังต้องเผื่อการถอยหลังไปรับลูกงัดโด่งไปถึงเส้นเสริฟท์ด้านหลังให้ทันด้วย

ตอนนี้เมื่อเราพร้อมแล้วก็มาดูกันว่าลูกแต่ละแบบเราจะรับกันอย่างไร
1.ลูกที่มาในระดับต่ำกว่าเอว
การรับแบบนี้ให้เรายกศอกถอยไปด้านหลังเล็กน้อยงอแขนประมาณ 45องศา บิดข้อมือเปิดหน้าไม้ให้ขนานกับฝั่งตรงข้าม ถ่านน้ำหนักตัวมาอยู่ที่เท้าขวา(ด้านหลัง)ยกเท้าซ้ายขึ้นเล็กน้อยแต่ให้ปลายเท้าแตะพื้นอยู่นะครับ หลังจากนั้นก็เหวี่ยงแขนขวานำและพอใกล้จะถึงจุดที่จะตีลูก(ประมาณครึ่งก้าวด้านหน้าวงสวิงเดียวกับไม้เรา)ก็สะบัดมือขวาตามมาพร้อมกับเสยไม้ขึ้นด้านบน ปล่อยให้ไม้สูงเลยหัวขึ้นไปหยุดด้านบนเป็นธรรมชาติ การตีแบบนี้ลูกก็จะลอยโด่งไปถึงเส้นหลังของฝ่ายตรงข้ามได้ไม่ยาก

2.ลูกที่มาในระดับอกขึ้นไปจนถึงหัว
การรับลูกลักษณะนี้เราต้องเอนตัวไปด้านหลัง และอาจต้องย่อเข่าลงเล็กน้อยขึ้นอยู่กับความต่ำของลูกที่ลอยมา งอข้อศอกขึ้นมาเป็นรูปตัว L หักข้อมืิอให้หัวไม้ไปอยู่ด้านหลัง(ระวังอย่าให้ใกล้หัวมากครับเดี๋ยวเหวี่ยงไปจะโดนหัวโดนหูแดง)บิดข้อมือไปทางขวาเพื่อให้หน้าไม้เปิดขนานกับฝั่งตรงข้ามเวลาตีให้ศอกอยู่ติดกับตัวเราโดยปลายศอกชี้ไปด้านหน้าแล้วเหวี่ยงตีลูกไป(ลูกอยู่ด้านหน้าครึ่งก้าว)หน้าไม้ต้องขนานกับฝั่งตรงข้ามและต้องหงายขึ้นด้วยเพื่อลูกที่เราตีออกไปจะได้ไม่ติดเน็ท

3.ลูกที่มาในระดับเหนือหัวขึ้นไป
การรับลูกแบบนี้ไม้ยากเพราะอยู่ในระยะวงสวิงของเราพอดี ยกข้อศอกขึ้นทาวขวาในระดับคิ้วเยื้องไปด้านเป็นรูปตัว L บิดตัวไปทางขวายกไหล่ซ้ายขึ้นให้ไหล่ขวาอยู่ต่ำกว่า เอนตัวไปด้านหลังเล็กน้อย ถ่ายน้ำหนักตัวไปอยู่ที่เท้าซ้าย งอเท้าขวาและเปิดส้นเท้าขวาขึ้นให้ปลายเท้าขวายังแตะ
พื้นอยู่นะครับ ต่อไปเวลาตีก็ให้ยกหมุนศอกมาข้างหน้า(ทวนเข็มนาฬิกา)ไม้แบดชี้ลงอ้อมหัว(ทวนเข็ม)ไปด้านหลังแล้วก็เหวี่ยงเป็นเส้นตรงลงมาตีลูกเหนือหัว(ครึ่งก้าว)แล้วปล่อยให้ไม้เหวี่ยงขวางลงมาทางขาซ้ายพร้อมกับก้าวขาขวาไปข้างหน้าครึ่งก้าว และก็ดึงขาขวากลับมายืนในท่าเตรียมพร้อมใหม่

อยากให้เอาไปลองฝึกกันให้ชำนาญนะครับเพราะมันเป็นพื่นฐานขั้นแรกๆ เมื่อเราคล่องแล้วต่อไปเราจะไปได้เร็วขึ้นครับ

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การรับลูกทางแบ็คแฮนด์

ในกรณีนี้จะเป็นการรับลูกที่มาทางด้านซ้ายมือขอเราในระดับต่ำ หรือลูกลอยมาไม่สูงมาก

เมื่อลูกวิ่งมาด้านซ้ายมือยังไม่เกินไปจากตำแหน่งที่เรายืนอยู่ ระยะวงสวิงของไม้ในการรับลูกด้วยแบ็คแฮนด์จะเริ่มตั้งแต่ประมาณ 5-1 นาฬิกาเลยที่เดียว
วิธีก็คือจากการจับไม้ที่ถูกต้องเราเลื่อนหัวแม่มือขึ้นไปพร้อมทั้งหักข้อมือให้หัวไม้เข้าหาตัวเราและงอข้อศอกเข้ามาพร้อมๆกันลักษณะนี้จะช่วยเป็นแรงส่งให้เราตีลูกได้แรงขึ้น ระยะที่รับลูกได้ดีก็คือลูกที่ิอยู่ในตำแหน่ง7'8'9'10 นาฬิกา

1.ถ้าต้องการรับลูกแค่เบาๆ เป็นการบุกเพื่อหยอดหน้าเน็ทฝั่งตรงข้ามเท่านั้นเราก็ใช้แค่แรง2ส่วน ส่วนแรกส่งจากนิ้วโป้งรวมกับแรงส่วนที่สองจากข้อมือเลือกบังคับทิศทางของลูกให้วิ่งไปยังตำแหน่งที่เราต้องการด้วยการบิดหรือเอียงหน้าไม้ด้วยข้อมือ
2.ถ้าต้องการรับลูกแบบเซฟให้ลอยโด่งไปถึงเส้นหลังฝั่งตรงข้ามเพื่อที่จะตั้งหลักอันนี้ต้องใช้แรงจาก3ส่วนประกอบกันคือ ส่วนแรกจากแรงส่งของนิ้วโป้ง ส่วนที่สองแรงส่งจากข้อมือ ส่วนที่สามคือส่วนกล้ามเนื้อที่ใหญ่สุดคือแขนโดยมีข้อมือและข้อศอกเป็นจุดเชื่อมแรงทั้งสามส่วนเข้าด้วยกัน

สำคัญ จังหวะในการตีมีอยู่2จังหวะด้วยกันคือ
1.ขอแขนให้ไม้เข้าหาตัวยกขึ้นเพื่อเป็นจุดเหวียง 2.สะบัดข้อมือออกไปและเพื่อรับลูกให้ไม้กระทบลูกที่อยู่ข้างหน้า ถ้าลูกเลยมาด้านหลังแล้วมันจะตีลำบากขึ้น
เมื่อสะบัดไม้กระทบลูกไปแล้วให้ปล่อยไม้เป็นครึ่งวงกลมตามแรงเหวียง อย่าพยายามเบรคไม้เพราะจะทำให้เราเจ็บข้อมือและข้อศอกได้ครับ

การตีแบ็คแฮนด์

สวัสดีครับ วันนี้จะขอแนะนำเรื่อการตีแบ็คแฮนด์ครับ

หลายๆคนที่เพิ่งเริ่มหัดเล่นแบด ปัญหาที่แก้ไม่ตกเรื่องต้นๆเลยก็คือการตีลูกแบ็คแฮนด์แป๊ก....หรือตีไปแล้วติดเน็ทบ้าง ไม่ถึงเส้นหลังบ้าง หรือเบี้ยวออกนอกคอร์ทไปเลยก็มี การตีแบ็คแฮนด์ถ้าฝึกดีๆ สามารถใช้บุกทำแต้มให้เราได้ด้วยการ"ใช้แบ็คแฮนด์ตบ" ครับถูกต้องแล้วครับมันใช้ตบได้ด้วยนะไม่ได้แค่เซฟลูกอย่างเดียว นักแบดต่างชาติหลายๆคนก็ใช้ลูกแบบนี้ทำแต้มอยู่เสมอๆ

เล่ามายาวและมาเริ่มกันเลยดีกว่าจะได้ไปลองฝึกๆกันครับ

1.เริ่มต้นด้วยการจับไม้ให้ถูกหลักกันก่อนเลย คือเป็นรูป V เชฟ แปลว่าการจับไม้นั้นสันไม้ต้องตั้งขึ้นโดยหน้าไม้และหลังไม้ต้องหันไปทางด้านซ้าย-ขวา และนิ้วโป้งกับนิ้วชี้จับที่ด้ามไม้เป็นรูปตัว V ส่วนนิ้วที่เหลือก็ใช้กำด้ามไม้ไว้ พยายามจับพอหลวมๆ อย่ากำจนแน่นนะ

2.เวลาตีลูกแบ็คแฮนด์ที่ลอยโด่งมาเส้นหลังให้เราหันกลับตัวไปด้านซ้ายให้ขาซ้ายเป็นแกนหมุนอยู่กับที่และวางขาขวาอ้อมมาทางซ้ายให้หยุดอยู่ด้านหน้าขาซ้ายครึ่งก้าว พร้อมๆกับโน้มตัวไปข้างผน้าเล็กน้อย

3.ยกศอกขวาขึ้น45องศา โดยที่ไม้อยู่ต่ำกว่าข้อศอกเป็นเหมือนตัว L (สำหรับผู้ถนัดขวาครับ)หันหน้าไม้ให้ขนานกับฝั่งตรงข้ามที่เราต้องการตีกลับไปโดยใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้คอนโทรนหน้าไม้

4.เมื่อลูกลอยมาอยู่ในตำแหน่ง 1 นาฬิกาโดยประมาณ ให้เราสะบัดข้อมือตีลูกในจังหวะนั้น ตรงนี้สำคัญมากครับ ต้องกะให้ได้ก่อนด้วยว่าวงสวิงไม้ของเราระยะสูงขนาดไหน จุดนี้จะทำให้เราเลือกได้ว่าจะตีเซฟไปยังเส้นหลังของอีกฝั่งดี หรือว่าตีหยอดที่หน้าเน็ท หรือจังหวะดีๆอาจตบเอาแต้มเลยก็ยังได้ครับ

5.เมื่อตีลูกแล้วก็ให้เหวี่ยงไม้เลยข้ามหัวไปด้านหลังเล็กน้อยพร้อมๆกับหันหลังกลับมาโดยใช้ขาขวาเลื่อนกลับมายังตำแหน่งเตรียมพร้อม โดยใช้ขาซ้ายทำหน้าที่เป็นแกนหมุนหลักเหมือนเดิมครับ

เอาแหละครับนี้ก็เป็นหลักการตีแบ็คแฮนด์ที่ถูกวิธีนะครับ ลองนำไปฝึกกันดูให้ชำนาญครับเพื่อแก้จุดบอดของเราให้เป็นจุดแข็งได้ต่อไป